กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ออกมาประกาศรายชื่ออาหารถิ่น 77 จังหวัดของเมืองไทย ที่ผ่านการคัดเลือกกิจกรรม "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น"
กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ออกมาประกาศรายชื่ออาหารถิ่น 77 จังหวัดของเมืองไทย ที่ผ่านการคัดเลือกกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาระดับอาหารท้องถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้
เมนูประจำจังหวัด 77 จังหวัดของเมืองไทย
- ข้าวตอกตั้ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
- แกงมัสมั่นกล้วยไข่ จังหวัดกำแพงเพชร
- ยำไกน้ำของ (สาหร่ายแม่น้ำโขง) จังหวัดเชียงราย
- ตำจิ้นแห้ง จังหวัดเชียงใหม่
- เมี่ยงจอมพล จังหวัดตาก
- ทอดมันปลากราย จังหวัดนครสวรรค์
- แกงแคไก่พื้นเมือง จังหวัดน่าน
- หลนปลาส้มพะเยา จังหวัดพะเยา
- ยำส้มโอกระทงทองสูตรเมืองชาละวัน จังหวัดพิจิตร
- น้ำพริกเม็ดบัวปลาย่าง จังหวัดพิษณุโลก
- ปิ้งไก่ข้าวเบือ จังหวัดเพชรบูรณ์
- น้ำพริกน้ำย้อย จังหวัดแพร่
- ข้าวส้ม โถ่โก้ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ยำปลาแห้ง จังหวัดลำปาง
- แกงฮังเลลำไย อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- ข้าวเปิ๊บสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
- อั่วบักเผ็ด จังหวัดอุตรดิตถ์
- ข้าวแดะงา จังหวัดกาฬสินธุ์
- ปลาแดกบองสมุนไพร จังหวัดขอนแก่น
- คั่วเนื้อคั่วปลา จังหวัดชัยภูมิ
- เมี่ยงตาสวด จังหวัดนครพนม
- เมี่ยงคำ (โคราช) จังหวัดนครราชสีมา
- หมกหม้อปลาน้ำโขง จังหวัดบึงกาฬ
- ขนมตดหมา จังหวัดบุรีรัมย์
- แจ่วร้อนท่าขอนยาง จังหวัดมหาสารคาม
- ตำเมี่ยงตะไคร้ ลำข่าสดใส่มดแดง จังหวัดมุกดาหาร
- อั่วกบ (กบยัดไส้) จังหวัดยโสธร
- ข้าวปุ้นน้ำยาปลาหลด จังหวัดร้อยเอ็ด
- ส้าปลาน้ำโขง จังหวัดเลย
- ละแวกะตาม จังหวัดศรีสะเกษ
- แกงหวาย จังหวัดสกลนคร
- เบาะโดง (น้ำพริกมะพร้าวโบราณ) จังหวัดสุรินทร์
- หลามปลาน้ำโขง จังหวัดหนองคาย
- เมี่ยงคำลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
- อู๋พุงปลา จังหวัดอำนาจเจริญ
- ข้าวต้มมัดบัวแดง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
- ลาบหมาน้อย จังหวัดอุบลราชธานี
- แกงส้มญวน จังหวัดกาญจนบุรี
- ต้มปลาร้าหัวตาล จังหวัดชัยนาท
- ยำส้มโอ จังหวัดนครปฐม
- ข้าวตอกน้ำกะทิทุเรียนนนท์ จังหวัดนนทบุรี
- เมี่ยงคำบัวหลวง จังหวัดปทุมธานี
- แกงคั่วส้มหน่อธูปฤาษีกับปลาช่อนย่าง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- แกงเหงาหงอด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- แกงหัวตาล จังหวัดเพชรบุรี
- แกงกะลากรุบ จังหวัดราชบุรี
- ยำปลาส้มฟัก จังหวัดลพบุรี
- แกงรัญจวน จังหวัดสมุทรสงคราม
- ต้มยำปลาทูโบราณ จังหวัดสมุทรสาคร
- แกงบวน จังหวัดสิงห์บุรี
- ปลาหมำสมุนไพรทอดกรอบ จังหวัดสุพรรณบุรี
- ปลาแนม จังหวัดอ่างทอง
- ต้มส้มปลาแรด จังหวัดอุทัยธานี
- ลุกกะทิ หรือน้ำพริกกะทิชองพร้อมผักเคียง จังหวัดจันทบุรี
- หมูหงส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ปลาคก จังหวัดชลบุรี
- แกงเลียงกะแท่งหอยนางรม จังหวัดตราด
- น้ำพริกป่ามะดัน จังหวัดนครนายก
- แกงกะทินางหวาน จังหวัดปราจีนบุรี
- แกงส้มผักกระชับ จังหวัดระยอง
- ขนมย่างจากใจ จังหวัดสมุทรปราการ
- น้ำพริกกะสัง จังหวัดสระแก้ว
- ลาบหัวปลี จังหวัดสระบุรี
- ปลาจุกเครื่อง จังหวัดกระบี่
- แกงส้มหยวกกล้วยกับหมูสามชั้น จังหวัดชุมพร
- โกยุก จังหวัดตรัง
- ขนมปะดา จังหวัดนครศรีธรรมราช
- อาเกาะ จังหวัดนราธิวาส
- ข้าวยำ จังหวัดปัตตานี
- อาจาดหู จังหวัดพังงา
- แกงขมิ้น จังหวัดพัทลุง
- น้ำซุปเมืองหลาง 9 อย่าง จังหวัดภูเก็ต
- ข้าวยำโจร (ข้าวยำคลุกสมุนไพร) จังหวัดยะลา
- ก๊กซิมบี้ จังหวัดระนอง
- ข้าวสตู จังหวัดสงขลา
- ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ จังหวัดสตูล
- แกงขมิ้นไตปลาโบราณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เป็นยังไงกันบ้างล่ะครับ รู้สึกคุ้น ๆ กับเมนูไหนบ้างไหมเอ่ย อย่างไรก็ตามมีการเกิดปมดราม่าซึ่งมีบางเมนูทำไมคนท้องถิ่นที่อยู่ในพื้นที่กลับไม่รู้จักและยังไม่เคยได้ยินชื่อเมนูอาหารถิ่นดังกล่าวเลย
หลังจากนั้น สวธ. ได้ออกมาเคลียร์ดราม่า “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” หลังคนท้องถิ่นไม่รู้จัก ไม่ใช่อาหารประจำถิ่น แต่เป็นการค้นหา “รสชาติที่หายไป” โดยมีข้อความว่า
“นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ชี้แจงถึงประเด็นดราม่าอาหารประจำถิ่น ว่า เพื่ออนุรักษ์อาหารพื้นบ้านให้อยู่คู่กับอาหารไทย และคู่บ้านคู่เมืองของไทย โดยรวบรวมเมนูอาหารถิ่นที่กำลังจะเลือนหาย ที่หารับประทานได้ยาก มายกระดับ พัฒนา สร้างสรรค์เป็นอาหารประจำจังหวัด
อีกทั้งจัดทำเป็นสำรับอาหารประจำภาคทั้ง 4 ภาค เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่องค์ความรู้ และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอาหารถิ่น ทั้งคาวและหวาน ซึ่งมีสรรพคุณหลากหลาย ทั้งด้านสุขภาพ โภชนาการ สมุนไพร ด้านวิธีการปรุง เคล็ดลับและประวัติความเป็นมา เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าของอาหาร โดยต่อยอดจากวัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรชุมชน
ซึ่งการประกาศเมนูอาหารทั้ง 77 รายการ และอาหารบางชนิดคนในท้องถิ่นอาจไม่รู้จัก
แต่ถึงกระนั้น นี่คือสิ่งที่ตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การค้นหาเมนู “รสชาติ…ที่หายไป” อยากฟื้นกลับมา เมื่อคัดเลือกมาแล้ว ถือเป็นการปลุกกระแสทำให้คนในท้องถิ่นหันมาสนใจ และสร้างความเข้าใจในรากเหง้าทางวัฒนธรรมของจังหวัดนั้น ๆ
สวธ. ย้ำ!! การหยิบยกเมนูที่คนท้องถิ่นหรือคนในพื้นที่นั้น ๆ ไม่รู้จักขึ้นมา เป็นวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการทำให้คนรุ่นใหม่ได้พบกับ “รสชาติที่หายไป” หมายความว่า เมนูประจำถิ่นของแต่ละจังหวัดอาจไม่ได้มีชื่อเสียงในปัจจุบัน แต่เป็นการขุดคุ้ยเมนูที่เคยมีอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ในอดีต ให้กลับมาเป็นเมนูเชิดชูถิ่นได้ในปัจจุบันนั่นเอง”
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์